ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอแว้ง
กลองบานอ
ปัจจุบันการทำกลองบานอคงเหลืออยู่ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสเพียงแห่งเดียว โดยมีปราชญ์ชาวบ้านผู้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นผู้เปี่ยมทักษะเชิงช่างในการสร้างกลองบานออย่างนายสุดิน ดอเลาะ และสมาชิกในชุมชน ยังคงเห็นถึงความสำคัญ สืบสาน การทำกลองบานออยู่ในอำเภอแว้งมาจนถึงทุกวันนี้ นายสุดิน ดอเลาะ เรียนรู้การทำกลองบานอจากบรรพบุรุษ และลงมือทำกลองบานอตั้งแต่อายุ 15 ปี คลุกคลีกับการทำกลอง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในแถบสามจังหวัดชายแดนใต้มาอย่างต่อเนื่อง แม้การทำกลองบานอไม่ได้ประกอบเป็นอาชีพหลัก แต่ก็ไม่อาจทิ้งการทำกลองบานอด้วยเพราะมีใจรัก โตมากับวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันโดยการใช้สัญญาณกลองเป็นสื่อกลางที่เห็นพ่อและแม่ทำอยู่ทุกวันเสียงกลองที่คุ้นหูทำให้ซึมซับท่วงทำนองแห่งความกังวานไพเราะอย่างไม่รู้ตัว จนเติบโตมาพร้อมกับความชำนาญและทักษะฝีมือการทำกลองที่หาใครทำเทียบเท่ายากยิ่งการทำกลองบานอเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องใช้กระบวนการทำมือทุกขั้นตอน
ปัจจุบันการทำกลองบานอคงเหลืออยู่ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสเพียงแห่งเดียว โดยมีปราชญ์ชาวบ้านผู้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นผู้เปี่ยมทักษะเชิงช่างในการสร้างกลองบานออย่างนายสุดิน ดอเลาะ และสมาชิกในชุมชน ยังคงเห็นถึงความสำคัญ สืบสาน การทำกลองบานออยู่ในอำเภอแว้งมาจนถึงทุกวันนี้ นายสุดิน ดอเลาะ เรียนรู้การทำกลองบานอจากบรรพบุรุษ และลงมือทำกลองบานอตั้งแต่อายุ 15 ปี คลุกคลีกับการทำกลอง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในแถบสามจังหวัดชายแดนใต้มาอย่างต่อเนื่อง แม้การทำกลองบานอไม่ได้ประกอบเป็นอาชีพหลัก แต่ก็ไม่อาจทิ้งการทำกลองบานอด้วยเพราะมีใจรัก โตมากับวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันโดยการใช้สัญญาณกลองเป็นสื่อกลางที่เห็นพ่อและแม่ทำอยู่ทุกวันเสียงกลองที่คุ้นหูทำให้ซึมซับท่วงทำนองแห่งความกังวานไพเราะอย่างไม่รู้ตัว จนเติบโตมาพร้อมกับความชำนาญและทักษะฝีมือการทำกลองที่หาใครทำเทียบเท่ายากยิ่งการทำกลองบานอเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องใช้กระบวนการทำมือทุกขั้นตอน
ลักษณะเด่น : การทำกลองบานอที่ปัจจุบันไม่มีใครทำ และใกล้สูญหาย อย่างหาคนเทียบฝีมือได้ยากนัก และเป็นอัตลักษณ์ความภาคภูมิใจของอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ว่าการละเล่นกลองบานอมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าสนใจ
>> วัสดุอุปกรณ์
1. หนังควาย
2. ไม้หลุมพอ
3. หวาย
4. เชือกไนล่อน
5. เลื่อย
6. ขวาน
7. พร้า
8. ที่เหลาหวาย
>> ขั้นตอนการทำกลองบานอ
1. ตากหนังควาย
2. รีดหวาย
3. เตรียมไม้
4. ขึงหนังควาย
5. ตกแต่งกลองบานอ
6. กลองบานอที่เสร็จเรียบร้อย
ชื่อผู้รับผิดชอบ : ครูสูดิน ดอเลาะ
ที่อยู่ : 7/1 หมู่ 3 ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
จักสานใบเตย
แนวคิด นำใบเตยหนาม มาแปรสภาพจากเครื่องจักสานที่ส่วนใหญ่นำมาสานทำเสื่อ และของใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นชิ้นงานที่เห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นงานที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยไม่ต้องลงทุนมากมาย จนในที่สุดตัดสินใจทดลองนำมาผลิตเป็นสินค้าชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ, กระเป๋า, หมวก, กล่องใส่ทิชชู่ และของที่ระลึกต่าง ๆ ฯลฯ จนท้ายที่สุด ได้ค้นพบว่า ใบเตยหนาม มีคุณสมบัติของเส้นใยเหนียวนุ่ม เหมาะแก่การนำมาถักสานเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในรูปแบบของกระเป๋า สามารถทำออกมาได้ดีที่สุด
ลักษณะเด่น : การนำใบเตยหนาม มาแปรสภาพจากเครื่องจักสานที่ส่วนใหญ่นำมาสานทำเสื่อ และของใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นชิ้นงานที่เห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นงานที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยไม่ต้องลงทุนมากมาย ชื่อผู้รับผิดชอบ : กลุ่มอาชีพจักสานใบเตยบ้านบาโงที่อยู่ : บ้านบาโง หมู่ที่4 ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
แนวคิด นำใบเตยหนาม มาแปรสภาพจากเครื่องจักสานที่ส่วนใหญ่นำมาสานทำเสื่อ และของใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นชิ้นงานที่เห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นงานที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยไม่ต้องลงทุนมากมาย จนในที่สุดตัดสินใจทดลองนำมาผลิตเป็นสินค้าชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ, กระเป๋า, หมวก, กล่องใส่ทิชชู่ และของที่ระลึกต่าง ๆ ฯลฯ จนท้ายที่สุด ได้ค้นพบว่า ใบเตยหนาม มีคุณสมบัติของเส้นใยเหนียวนุ่ม เหมาะแก่การนำมาถักสานเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในรูปแบบของกระเป๋า สามารถทำออกมาได้ดีที่สุด
ลักษณะเด่น : การนำใบเตยหนาม มาแปรสภาพจากเครื่องจักสานที่ส่วนใหญ่นำมาสานทำเสื่อ และของใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นชิ้นงานที่เห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นงานที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยไม่ต้องลงทุนมากมาย
ชื่อผู้รับผิดชอบ : กลุ่มอาชีพจักสานใบเตยบ้านบาโง
ที่อยู่ : บ้านบาโง หมู่ที่4 ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ชาเจ๊ะเหม
ชาเจ๊ะเหมเป็นสินค้าโอทอปขึ้นชื่อของ อ.แว้ง จังหวัดนราธิวาส ชาเจ๊ะเหมเป็นชาพันธุ์อัสสัมที่ได้มีการนำ มาปลูกที่หมู่บ้านเจ๊ะเหม ซึ่งเป็นชุมชนแห่งเดียวในภาคใต้ที่ปลูกชาได้และมีคุณภาพ ชาพันธุ์อัสสัมในหมู่บ้านเจ๊ะเหม นี้แตกต่างจากชาสานพันธุ์เดียวกันที่ปลูกในภาคเหนือเนื่องจาก ไม่ได้ปลูกเป็นอุตสาหกรรมชาเหมือนทางภาคเหนือ แต่ปลูกขึ้นในส่วนผลไม้ สวนยางพารา สวนหน้าบ้าน หลังบ้าน ซึ่งเป็นชาที่ปลูกแบบธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี ผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มมี 2
รูปแบบคือ ชาอบแห้งและชาพร้อมดื่ม
>> สรรพคุณของชาเจ๊ะเหม 🌿
1. ลดความดัน
2. ลดคอเลสตรอล
3. แก้อาการท้องเสีย
4. ลดความอ้วน
5. ลดน้ำหนัก
6. ลดความเครียดได้
>> กรรมวิธีในการทำ
1. ผึ่งใบชาในที่ร่ม ใช้เวลา ประมาณ 3-4
ชั่วโมง
2.คั่วชาครั้งที่ 1
ใช้เวลา 20-25
นาที คั่วชาครั่งที่ 2
ใช้เวลาประมาณ 15
นาที โดยใช้ความร้อนจากไม้ฟืน,ถ่าน และพลังแสงอาทิตย์
3.บรรจุถุง 50
กรัม/20บาท
ลักษณะเด่น :
เป็นชาพันธุ์อัสสัมที่ได้มีการนำ มาปลูกที่หมู่บ้านเจ๊ะเหม ซึ่งเป็นชุมชนแห่งเดียวในภาคใต้ที่ปลูกชาได้และมีคุณภาพ
ผลิตโดย :
กลุ่มชาเจ๊ะเหม 99/12
หมู่ 3 ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
สามารถสั่งซื้อได้ที่ : https://www.facebook.com/ชาเจ๊ะเหม
ชาเจ๊ะเหมเป็นสินค้าโอทอปขึ้นชื่อของ อ.แว้ง จังหวัดนราธิวาส ชาเจ๊ะเหมเป็นชาพันธุ์อัสสัมที่ได้มีการนำ มาปลูกที่หมู่บ้านเจ๊ะเหม ซึ่งเป็นชุมชนแห่งเดียวในภาคใต้ที่ปลูกชาได้และมีคุณภาพ ชาพันธุ์อัสสัมในหมู่บ้านเจ๊ะเหม นี้แตกต่างจากชาสานพันธุ์เดียวกันที่ปลูกในภาคเหนือเนื่องจาก ไม่ได้ปลูกเป็นอุตสาหกรรมชาเหมือนทางภาคเหนือ แต่ปลูกขึ้นในส่วนผลไม้ สวนยางพารา สวนหน้าบ้าน หลังบ้าน ซึ่งเป็นชาที่ปลูกแบบธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี ผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มมี 2
รูปแบบคือ ชาอบแห้งและชาพร้อมดื่ม
>> สรรพคุณของชาเจ๊ะเหม 🌿
1. ลดความดัน
2. ลดคอเลสตรอล
3. แก้อาการท้องเสีย
4. ลดความอ้วน
5. ลดน้ำหนัก
6. ลดความเครียดได้
>> กรรมวิธีในการทำ
1. ผึ่งใบชาในที่ร่ม ใช้เวลา ประมาณ 3-4
ชั่วโมง
2.คั่วชาครั้งที่ 1 ใช้เวลา 20-25 นาที คั่วชาครั่งที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยใช้ความร้อนจากไม้ฟืน,ถ่าน และพลังแสงอาทิตย์
3.บรรจุถุง 50 กรัม/20บาท
2.คั่วชาครั้งที่ 1 ใช้เวลา 20-25 นาที คั่วชาครั่งที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยใช้ความร้อนจากไม้ฟืน,ถ่าน และพลังแสงอาทิตย์
3.บรรจุถุง 50 กรัม/20บาท
ลักษณะเด่น :
เป็นชาพันธุ์อัสสัมที่ได้มีการนำ มาปลูกที่หมู่บ้านเจ๊ะเหม ซึ่งเป็นชุมชนแห่งเดียวในภาคใต้ที่ปลูกชาได้และมีคุณภาพ
ผลิตโดย :
กลุ่มชาเจ๊ะเหม 99/12
หมู่ 3 ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
สามารถสั่งซื้อได้ที่ : https://www.facebook.com/ชาเจ๊ะเหม
ผ้าบาติก
ผ้าบาติก คำว่า บาติก เป็นภาษาชวา ใช้เรียกผ้าย้อมสีชนิดหนึ่งที่รวมศิลปะทางด้านฝีมือ และเทคนิคการย้อมสีเข้าด้วยกัน หลักการทำผ้าบาติกอาศัยเทคนิคง่าย ๆ คือ “การวันสีด้วยเทียน” โดยใช้ “วันติ้ง” เป็นเครื่องมือที่จุ่มเทียนไขเหลวเพื่อวาดลวดลายลงบนผืนผ้าก่อนลงสีในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีที่ย้อม เมื่อนำไปย้อมสี สีก็จะติดเฉพาะส่วนที่ไม่ลงเทียนไว้และจะติดซึมไปตามรอยแตกของเทียนเกิดลวดลายสวยงาม ปัจจุบัน การทำผ้านิยมใช้วิธีพิมพ์ลายผ้ามากกกว่าวิธีเขียนลายด้วยมือ เพราะเร็วและสะดวกกว่า ผ้าบาติกนี้ส่งขายตามเมืองท่องเที่ยวใหญ่ ๆ และส่งออกขายในมาเลเซีย
วิธีการทำผ้าปาเต๊ะ "สุมาตรา บาติก" 1.เริ่มจากการคิดลาย หรือออกแบบลายผ้าก่อนเพื่อนำไปสู่การทำบล็อก หรือแกะพิมพ์ ตามความลวดลายที่ต้องการ โดยแม่พิมพ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาจะเน้นลายผ้าแบบโบราณประยุกต์เพื่อให้คงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของผ้าปาเต๊ะที่มีกลิ่นอายของความเก่าแก่ เริ่มจากการร่างลายลงบนกระดาษ แล้วใช้ปากกาเมจิกเขียนลายให้คมชัด ก่อนนำผ้าขาวมาวางบนลายแล้วลอกลายด้วยดินสอ 4 B, 6 B เขียนเส้นดินสอเบาๆ บนผ้าขาว เพื่อให้ได้ลวดลาย จากนั้นจึงลงมือเขียนตามลายที่ลอกลายไว้ ซึ่งจะทำให้ช้าและสีไม่สม่ำเสมอ 2.การเตรียมน้ำเทียน โดยใช้ขี้ผึ้งอย่างดีที่มีคุณสมบัติเหนียว ตั้งบนเตาเพื่อให้ขี้ผึ้งละลาย จากนั้นใช้บล็อก หรือแม่พิมพ์จุ่มลงไปทั้งบล็อก ก่อนนำไปวางบนผ้าที่เตรียมไว้เพื่อพิมพ์ลวดลายลงไป โดยขั้นตอนนี้ต้องระวังอย่าให้น้ำเทียนเย็นจะทำให้สีไม่เข้ม และซีดจางได้ ทำลักษณะเดียวกันซ้ำๆ จนเกิดเป็นลวดลาย 3.วิธีการต้มผ้าเอาเทียนออก ที่ต้องต้มน้ำให้เดือด จากนั้นนำผ้าลงไปต้มประมาณ 10-20 นาที แล้วนำผ้าขึ้นมาซักในน้ำสะอาด ทำแบบเดียวกันนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง จนกว่าเส้นเทียนจะละลายออกไปหมด จึงนำผ้าไปตากถือว่าเสร็จขั้นตอนการทำแบบง่ายๆชื่อผู้รับผิดชอบ : นายอดิศักดิ์ แวเต๊ะ ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๘๗ ถนนเทพปฐม สุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสลักษณะเด่น : ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าปาเต๊ะ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประชาชน หรือชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มักจะนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือผ้าโสร่งในชีวิตประจำวันมาช้านาน บ้างก็นำมาตัดเป็นเสื้อทำผ้าโสร่งผ้าปาเต๊ะที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นจะเป็นผ้าที่ทำมาจากชวา
ผ้าบาติก คำว่า บาติก เป็นภาษาชวา ใช้เรียกผ้าย้อมสีชนิดหนึ่งที่รวมศิลปะทางด้านฝีมือ และเทคนิคการย้อมสีเข้าด้วยกัน หลักการทำผ้าบาติกอาศัยเทคนิคง่าย ๆ คือ “การวันสีด้วยเทียน” โดยใช้ “วันติ้ง” เป็นเครื่องมือที่จุ่มเทียนไขเหลวเพื่อวาดลวดลายลงบนผืนผ้าก่อนลงสีในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีที่ย้อม เมื่อนำไปย้อมสี สีก็จะติดเฉพาะส่วนที่ไม่ลงเทียนไว้และจะติดซึมไปตามรอยแตกของเทียนเกิดลวดลายสวยงาม ปัจจุบัน การทำผ้านิยมใช้วิธีพิมพ์ลายผ้ามากกกว่าวิธีเขียนลายด้วยมือ เพราะเร็วและสะดวกกว่า ผ้าบาติกนี้ส่งขายตามเมืองท่องเที่ยวใหญ่ ๆ และส่งออกขายในมาเลเซีย
วิธีการทำผ้าปาเต๊ะ "สุมาตรา บาติก"
1.เริ่มจากการคิดลาย หรือออกแบบลายผ้าก่อนเพื่อนำไปสู่การทำบล็อก หรือแกะพิมพ์ ตามความลวดลายที่ต้องการ โดยแม่พิมพ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาจะเน้นลายผ้าแบบโบราณประยุกต์เพื่อให้คงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของผ้าปาเต๊ะที่มีกลิ่นอายของความเก่าแก่ เริ่มจากการร่างลายลงบนกระดาษ แล้วใช้ปากกาเมจิกเขียนลายให้คมชัด ก่อนนำผ้าขาวมาวางบนลายแล้วลอกลายด้วยดินสอ 4 B, 6 B เขียนเส้นดินสอเบาๆ บนผ้าขาว เพื่อให้ได้ลวดลาย จากนั้นจึงลงมือเขียนตามลายที่ลอกลายไว้ ซึ่งจะทำให้ช้าและสีไม่สม่ำเสมอ
2.การเตรียมน้ำเทียน โดยใช้ขี้ผึ้งอย่างดีที่มีคุณสมบัติเหนียว ตั้งบนเตาเพื่อให้ขี้ผึ้งละลาย จากนั้นใช้บล็อก หรือแม่พิมพ์จุ่มลงไปทั้งบล็อก ก่อนนำไปวางบนผ้าที่เตรียมไว้เพื่อพิมพ์ลวดลายลงไป โดยขั้นตอนนี้ต้องระวังอย่าให้น้ำเทียนเย็นจะทำให้สีไม่เข้ม และซีดจางได้ ทำลักษณะเดียวกันซ้ำๆ จนเกิดเป็นลวดลาย
3.วิธีการต้มผ้าเอาเทียนออก ที่ต้องต้มน้ำให้เดือด จากนั้นนำผ้าลงไปต้มประมาณ 10-20 นาที แล้วนำผ้าขึ้นมาซักในน้ำสะอาด ทำแบบเดียวกันนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง จนกว่าเส้นเทียนจะละลายออกไปหมด จึงนำผ้าไปตากถือว่าเสร็จขั้นตอนการทำแบบง่ายๆ
ชื่อผู้รับผิดชอบ : นายอดิศักดิ์ แวเต๊ะ
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๘๗ ถนนเทพปฐม สุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะเด่น : ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าปาเต๊ะ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประชาชน หรือชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มักจะนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือผ้าโสร่งในชีวิตประจำวันมาช้านาน บ้างก็นำมาตัดเป็นเสื้อทำผ้าโสร่งผ้าปาเต๊ะที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นจะเป็นผ้าที่ทำมาจากชวา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น