แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น
1. วัฒนธรรมที่จับต้องได้
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโละจูด
📍ที่ตั้ง : หมู่ 2
ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสข้อมูล/รายละเอียด : พิพิธภัณฑ์โละจูด เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวของอำเภอแว้ง
ได้จดทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ได้มาช่วยการจัดหมวดหมู่ เป็นการริเริ่มของนายเจ๊ะปอ ลอดีง
อดีตกำนันตำบลโละจูด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑
โดยใช้บ้านของตนเป็นศูนย์ดำเนินการก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์แบบทรงไทย
แล้วออกรวบรวมโบราณวัตถุตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ บ้านบาลา บ้านซะ บ้านสาวอ
และบ้านโละจูด ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนดั้งเดิม ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์มรดกไทยศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้มีอายุระหว่าง
๑๐๐ - ๓๕๐ ปี มีอยู่ประมาณกว่า ๒๐๐ ชิ้น แบ่งประเภทออกเป็น
- เครื่องใช้สอย
เช่น เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องทองเหลือง เครื่องดินเผา เครื่องจักสาน
และเครื่องโลหะ ขอสับช้าง กระดิ่ง- อาวุธ ได้แก่
หอก ดาบ มีด พร้า ขอ ขวานชนิดและแบบต่าง ๆ กริช- เครื่องประดับ
ได้แก่ หัวสัตว์ เขาสัตว์ และสัตว์สตาฟต่าง ๆ ดอกไม้- เงินตรา
มีเงินตราต่าง ๆมัสยิดตาราม
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโละจูด
📍ที่ตั้ง : หมู่ 2
ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูล/รายละเอียด : พิพิธภัณฑ์โละจูด เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวของอำเภอแว้ง
ได้จดทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ได้มาช่วยการจัดหมวดหมู่ เป็นการริเริ่มของนายเจ๊ะปอ ลอดีง
อดีตกำนันตำบลโละจูด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑
โดยใช้บ้านของตนเป็นศูนย์ดำเนินการก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์แบบทรงไทย
แล้วออกรวบรวมโบราณวัตถุตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ บ้านบาลา บ้านซะ บ้านสาวอ
และบ้านโละจูด ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนดั้งเดิม ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์มรดกไทยศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้มีอายุระหว่าง
๑๐๐ - ๓๕๐ ปี มีอยู่ประมาณกว่า ๒๐๐ ชิ้น แบ่งประเภทออกเป็น
- เครื่องใช้สอย
เช่น เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องทองเหลือง เครื่องดินเผา เครื่องจักสาน
และเครื่องโลหะ ขอสับช้าง กระดิ่ง
- อาวุธ ได้แก่
หอก ดาบ มีด พร้า ขอ ขวานชนิดและแบบต่าง ๆ กริช
- เครื่องประดับ
ได้แก่ หัวสัตว์ เขาสัตว์ และสัตว์สตาฟต่าง ๆ ดอกไม้
- เงินตรา
มีเงินตราต่าง ๆ
มัสยิดตาราม
📍ที่ตั้ง : หมู่ ๒ ถ.โต๊ะเว็ง ต.แว้ง จ.นราธิวาสข้อมูล/รายละเอียด : มัสยิดตาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๒ ถ.โต๊ะเว็ง ต.แว้ง จ.นราธิวาส ซึ่งได้เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๘ (ฮ.ศ.๑๓๔๗) และได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งปีพ.ศ.๒๔๙๘ (ฮ.ศ.๑๓๗๔) ได้จดทะเบียนเป็นมัสยิด วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ เลขที่ ๖๐ และเริ่มสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๐๑ (ฮ.ศ.๑๓๗๙) แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๐ (ฮ.ศ.๑๓๙๘) ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นอิหม่ามคนปัจจุบันคือนายไซนุน บือราเฮง ปัจจุบันมีโรงเรียนตาดีกา (มักตับตาราม) เป็นอาคารประกอบ ๓ ชั้น ห้องเรียน ๖ ห้อง มีนักเรียนทั้งหมด ๑๓๔ คน และอุสตาส ๔ คน มีศูนย์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ (ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน) จำนวน ๑๐ เครื่องและเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุชุมชน
การแสดงตารีอีนา
บ้านสามแยก ต.กายูคละ อ.แว้ง จ.นราธิวาส เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเองคือการแสดง "ตารีอีนา" และ "ซีละ" โดยเฉพาะการแสดงตารีอีนา ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยนับวันจะสูญหายไปเนื่องจากขาดผู้สืบทอด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละและศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแว้ง สนับสนุนให้เยาวชนเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยสืบสานถ่ายทอดฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงร่วมกับองค์กรเยาวชนจัดทำโครงการศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (ตารีอีนา)เพื่อสร้างจิตสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด
อานาซีดกุมปัง
ตามประวัติศาสตร์แล้วมีการใช้ “กุมปัง” เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
ประเภทเครื่องเคาะหรือกลอง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวมุสลิมทั่วโลก ในสมัยโบราณนัน
การแสดงกุมปังนัน ใช้ในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
ปัจจุบันใช้ในการแสดงในขบวนแห่งานมงคลต่าง ๆ ที่มีความหมายถึงการต้อนรับ2. วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
งานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นอำเภอแว้ง
📍ที่ตั้ง : หมู่ ๒ ถ.โต๊ะเว็ง ต.แว้ง จ.นราธิวาส
ข้อมูล/รายละเอียด : มัสยิดตาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๒ ถ.โต๊ะเว็ง ต.แว้ง จ.นราธิวาส ซึ่งได้เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๘ (ฮ.ศ.๑๓๔๗) และได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งปีพ.ศ.๒๔๙๘ (ฮ.ศ.๑๓๗๔) ได้จดทะเบียนเป็นมัสยิด วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ เลขที่ ๖๐ และเริ่มสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๐๑ (ฮ.ศ.๑๓๗๙) แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๐ (ฮ.ศ.๑๓๙๘) ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นอิหม่ามคนปัจจุบันคือนายไซนุน บือราเฮง ปัจจุบันมีโรงเรียนตาดีกา (มักตับตาราม) เป็นอาคารประกอบ ๓ ชั้น ห้องเรียน ๖ ห้อง มีนักเรียนทั้งหมด ๑๓๔ คน และอุสตาส ๔ คน มีศูนย์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ (ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน) จำนวน ๑๐ เครื่องและเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุชุมชน
การแสดงตารีอีนา
บ้านสามแยก ต.กายูคละ อ.แว้ง จ.นราธิวาส เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเองคือการแสดง "ตารีอีนา" และ "ซีละ" โดยเฉพาะการแสดงตารีอีนา ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยนับวันจะสูญหายไปเนื่องจากขาดผู้สืบทอด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละและศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแว้ง สนับสนุนให้เยาวชนเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยสืบสานถ่ายทอดฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงร่วมกับองค์กรเยาวชนจัดทำโครงการศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (ตารีอีนา)เพื่อสร้างจิตสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด
อานาซีดกุมปัง
ตามประวัติศาสตร์แล้วมีการใช้ “กุมปัง” เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
ประเภทเครื่องเคาะหรือกลอง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวมุสลิมทั่วโลก ในสมัยโบราณนัน
การแสดงกุมปังนัน ใช้ในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
ปัจจุบันใช้ในการแสดงในขบวนแห่งานมงคลต่าง ๆ ที่มีความหมายถึงการต้อนรับ
2. วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
งานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นอำเภอแว้ง
งานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นอำเภอแว้ง เป็นการจัดงานเพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนและเยาวชนให้มีการอนุรักษ์ และรักษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณให้คงอยู่สืบไป โดยการจัดงานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอำเภอแว้งจัดขึ้นต่อเนื่องทุกปี ถือเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน และเยาวชนมีความหวงแหน และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีโบราณที่มีมาแต่ช้านานให้คงอยู่สืบไป พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอแว้งเพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างพื้นที่ได้มาท่องเที่ยวใน จ.นราธิวาสด้วย โดยในงานประกอบด้วยการตีกลองบานอ ถือเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งอำเภอแว้งเป็นสถานที่แห่งเดียวที่มีการสืบสานการตีกลองบานอจนถึงปัจจุบัน สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ประกอบไปด้วย กิจกรรมการประกวดขบวนแห่อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ตำบล และเครือข่ายของโรงเรียนทุกแห่งในอำเภอแว้ง การประกวดกลองบานอ การประกวดกลองยาว การประกวดดีเกฮูลู การจัดซุ้มนิทรรศการและสาธิตการทำขนมพื้นเมืองสถานที่จัดงาน : หน้าที่ว่าการอำเภอแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
งานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นอำเภอแว้ง เป็นการจัดงานเพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนและเยาวชนให้มีการอนุรักษ์ และรักษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณให้คงอยู่สืบไป โดยการจัดงานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอำเภอแว้งจัดขึ้นต่อเนื่องทุกปี ถือเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน และเยาวชนมีความหวงแหน และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีโบราณที่มีมาแต่ช้านานให้คงอยู่สืบไป พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอแว้งเพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างพื้นที่ได้มาท่องเที่ยวใน จ.นราธิวาสด้วย โดยในงานประกอบด้วยการตีกลองบานอ ถือเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งอำเภอแว้งเป็นสถานที่แห่งเดียวที่มีการสืบสานการตีกลองบานอจนถึงปัจจุบัน สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ประกอบไปด้วย กิจกรรมการประกวดขบวนแห่อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ตำบล และเครือข่ายของโรงเรียนทุกแห่งในอำเภอแว้ง การประกวดกลองบานอ การประกวดกลองยาว การประกวดดีเกฮูลู การจัดซุ้มนิทรรศการและสาธิตการทำขนมพื้นเมือง
สถานที่จัดงาน : หน้าที่ว่าการอำเภอแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
วัฒนธรรมทางศาสนา
>> ศาสนาอิสลาม
ฮารีรายอ
ฮารีรายอเป็นวันสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันรื่นเริงประจำปีซึ่งชาวมุสลิมได้เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ญาติพี่น้องเพื่อขออภัยซึ่งกันและกัน ช่วงเวลาในรอบ 1 ปีของชาวมุสลิม มีวันฮารีรายอ 2 ครั้ง คือ 1. อีดิลฟิตรี ตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวาล ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นวันออกบวชหลังจากได้ถือศีลอดตลอดระยะเวลา 1 เดือน นิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช” หรือ “รายาปอซอ“ หรือ “รายาฟิตเราะห์”
2. อีดิลอัฏฮา ตรงกับวันที่ 10 เดือน ซุลฮิจญะห หรือตรงกับเดือน 12 ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งถัดจากวันอารอฟะฮ และเป็นวันส่งท้ายของสิบวันแรกในเดือนซูลฮิจญะ มีลักษณะคล้ายกับวันตรุษอิดิลฟิตรี แต่มีข้อแตกต่างตรงที่มีการทำกุรบาน เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมุสลิมทั่วโลกได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ อันเป็นวันริเริ่มประกอบพิธีฮัจญ์ ส่วนผู้ไม่ได้ไปก็ให้ไปประกอบพิธีละหมาดอิดิลอัฏฮายังมัสยิดประจำหมู่บ้าน ในวันอิดิลอัฎฮาจะมีการทำกุรบาน โดยมีการเชือดสัตว์กุรบาน ได้แก่ อูฐ วัว แพะวันอาซูรอ
ฮารีรายอเป็นวันสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันรื่นเริงประจำปีซึ่งชาวมุสลิมได้เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ญาติพี่น้องเพื่อขออภัยซึ่งกันและกัน ช่วงเวลาในรอบ 1 ปีของชาวมุสลิม มีวันฮารีรายอ 2 ครั้ง คือ
1. อีดิลฟิตรี ตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวาล ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นวันออกบวชหลังจากได้ถือศีลอดตลอดระยะเวลา 1 เดือน นิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช” หรือ “รายาปอซอ“ หรือ “รายาฟิตเราะห์”
2. อีดิลอัฏฮา ตรงกับวันที่ 10 เดือน ซุลฮิจญะห หรือตรงกับเดือน 12 ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งถัดจากวันอารอฟะฮ และเป็นวันส่งท้ายของสิบวันแรกในเดือนซูลฮิจญะ มีลักษณะคล้ายกับวันตรุษอิดิลฟิตรี แต่มีข้อแตกต่างตรงที่มีการทำกุรบาน เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมุสลิมทั่วโลกได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ อันเป็นวันริเริ่มประกอบพิธีฮัจญ์ ส่วนผู้ไม่ได้ไปก็ให้ไปประกอบพิธีละหมาดอิดิลอัฏฮายังมัสยิดประจำหมู่บ้าน ในวันอิดิลอัฎฮาจะมีการทำกุรบาน โดยมีการเชือดสัตว์กุรบาน ได้แก่ อูฐ วัว แพะ
วันอาซูรอ
การกวนขนมอาซูรอ เป็นประเพณีคนที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า “อาซูรอ” เป็น ภาษาอาหรับ แปลว่าชื่อของวันที่ 10 เดือนมูฮัมรัม เป็นเดือนแรกตามปฏิทินของศาสนาอิสลาม ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ของ เดือน ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลามอย่างหนึ่งที่ ชาวมุสลิมทั่วโลกต้องจัดขึ้น การจัดกิจกรรมอาซูรอเป็นการทบทวนหรือการระลึกถึงความยากลำบากของชาวมุสลิมใน สมัยท่านศาสดานุฮ ที่ประสบกับมหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมด้วยกันเอง ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมอาซูรอสัมพันธ์ เพื่อให้ชาวมุสลิมได้ตระหนักถึงประเพณีทางศาสนาอิสลาม และทำให้เกิดความสัมพันธ์ฉันท์พี่ฉันท์น้อง ตลอดจนทำให้เกิดความไว้วางใจต่อกัน ความสามัคคีด้วยกันเอง เนื่่่่องจากปัญหา 3 จังหวัด ในปัจจุบันทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมลดน้อยลง การกวนอาซูรอถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและความสามัคคี ของพี่น้องในพื้นที่โดยเฉพาะชาวมุสลิมกันเองงานเมาลิด
การกวนขนมอาซูรอ เป็นประเพณีคนที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า “อาซูรอ” เป็น ภาษาอาหรับ แปลว่าชื่อของวันที่ 10 เดือนมูฮัมรัม เป็นเดือนแรกตามปฏิทินของศาสนาอิสลาม ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ของ เดือน ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลามอย่างหนึ่งที่ ชาวมุสลิมทั่วโลกต้องจัดขึ้น การจัดกิจกรรมอาซูรอเป็นการทบทวนหรือการระลึกถึงความยากลำบากของชาวมุสลิมใน สมัยท่านศาสดานุฮ ที่ประสบกับมหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมด้วยกันเอง ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมอาซูรอสัมพันธ์ เพื่อให้ชาวมุสลิมได้ตระหนักถึงประเพณีทางศาสนาอิสลาม และทำให้เกิดความสัมพันธ์ฉันท์พี่ฉันท์น้อง ตลอดจนทำให้เกิดความไว้วางใจต่อกัน ความสามัคคีด้วยกันเอง เนื่่่่องจากปัญหา 3 จังหวัด ในปัจจุบันทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมลดน้อยลง การกวนอาซูรอถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและความสามัคคี ของพี่น้องในพื้นที่โดยเฉพาะชาวมุสลิมกันเอง
งานเมาลิด
ในทุกๆรอบปีในปฏิทินจากทั่วโลกก็จะมีวันสำคัญต่างๆตามความเชื่อของกลุ่มชนนั้นๆ ซึ่งในปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ก็จะมีวันสำคัญต่างๆตามความเชื่อของชาวมุสลิมเช่นเดียวกัน บทความนี้จึงขอหยิบยกเรื่องราวของเทศกาลวันสำคัญของพี่น้องชาวมุสลิม ที่เป็นวิถีปฏิบัติที่ถูกสืบทอดกันมายาวนานมาเล่าสู่กันฟัง หนึ่งในวันสำคัญที่เราจะมาพูดถึงนั้นคือ “เมาว์ลิดนบี”
>> ศาสนาพุทธ
ในทุกๆรอบปีในปฏิทินจากทั่วโลกก็จะมีวันสำคัญต่างๆตามความเชื่อของกลุ่มชนนั้นๆ ซึ่งในปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ก็จะมีวันสำคัญต่างๆตามความเชื่อของชาวมุสลิมเช่นเดียวกัน บทความนี้จึงขอหยิบยกเรื่องราวของเทศกาลวันสำคัญของพี่น้องชาวมุสลิม ที่เป็นวิถีปฏิบัติที่ถูกสืบทอดกันมายาวนานมาเล่าสู่กันฟัง หนึ่งในวันสำคัญที่เราจะมาพูดถึงนั้นคือ “เมาว์ลิดนบี”
>> ศาสนาพุทธ
ถวายเทียนพรรษาวัดเขาเข็มทอง
ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา ๓ เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีสถานที่จัดงาน : วัดเขาเข็มทอง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส
พิธีกวนข้าวทิพย์ เริ่มต้นด้วยพิธีพราหมณ์ ตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาเครื่องประกอบในการตั้งบายศรี มีไตรจีวร 1 ชุด และถาดใส่อาหารมีข้าว ไข่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ พราหมณ์สวดชุมนุมเทวดา แล้วเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำเอาข้าวที่ยังเป็นน้ำนม (ข้าวที่เพิ่งออกรวงใหม่ ที่เมล็ดยังเป็นแป้ง นำมาเอาเปลือกออก) สิ่งของเครื่องปรุงข้าวทิพย์ คือมงคล 9 สิ่ง ได้แก่ นม เนย ถั่ว งา น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และผลไม้ต่างๆ ใส่ร่วมกันลงไป แล้วกวนให้ข้าวสุกจนเหนียว การกวนข้าวทิพย์นี้จะต้องใช้สาวพรหมจารี นุ่งขาวห่มขาวอย่างน้อย 4 คน เป็นผู้กวน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทายก ทายิกา จะช่วยกันปั้นข้าวทิพย์เป็นก้อนๆ ถวายแด่พระภิกษุภายในวัด และจัดแบ่งไปถวายพระภิกษุตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ที่เหลือแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ไปร่วมทำบุญในวันนั้น เพื่อเป็นการให้ทานสถานที่จัดงาน : วัดนิคมแว้ง หมู่ที่ ๖ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ถวายเทียนพรรษาวัดเขาเข็มทอง
ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา ๓ เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
สถานที่จัดงาน : วัดเขาเข็มทอง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส
พิธีกวนข้าวทิพย์ เริ่มต้นด้วยพิธีพราหมณ์ ตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาเครื่องประกอบในการตั้งบายศรี มีไตรจีวร 1 ชุด และถาดใส่อาหารมีข้าว ไข่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ พราหมณ์สวดชุมนุมเทวดา แล้วเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำเอาข้าวที่ยังเป็นน้ำนม (ข้าวที่เพิ่งออกรวงใหม่ ที่เมล็ดยังเป็นแป้ง นำมาเอาเปลือกออก) สิ่งของเครื่องปรุงข้าวทิพย์ คือมงคล 9 สิ่ง ได้แก่ นม เนย ถั่ว งา น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และผลไม้ต่างๆ ใส่ร่วมกันลงไป แล้วกวนให้ข้าวสุกจนเหนียว การกวนข้าวทิพย์นี้จะต้องใช้สาวพรหมจารี นุ่งขาวห่มขาวอย่างน้อย 4 คน เป็นผู้กวน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทายก ทายิกา จะช่วยกันปั้นข้าวทิพย์เป็นก้อนๆ ถวายแด่พระภิกษุภายในวัด และจัดแบ่งไปถวายพระภิกษุตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ที่เหลือแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ไปร่วมทำบุญในวันนั้น เพื่อเป็นการให้ทาน
สถานที่จัดงาน : วัดนิคมแว้ง หมู่ที่ ๖ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น