ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและเรื่องเล่า
ความเป็นมาอำเภอแว้ง
คำว่า “แว้ง” มาจากคำว่า “ระแว้ง” มีการเล่าขานกันว่าสมัยก่อน มีชาวบ้าน ครอบครัวหนึ่ง ชื่อสกุลจริงของผู้นำครอบครัวนั ้นไม่มีใครรู้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเรียกท่านว่า “โต๊ะแวแว้ง” เนื่องจาก ครอบครัวของท่านได้อพยพมาจากบ้านระแว้ง หมู่ที่ 4 ต าบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็ นครอบครัวแรกที่มาบุกเบิกและตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่จนกระทั่งท่านโต๊ะแวแว้งเสียชีวิต ณ ที่นี่ (สุสานของท่าน ตั้งอยู่ ในบริเวณโรงจอดรถของสถานีตำรวจภูธรแว้งในปัจจุบัน ) ในช่วงของการเริ่มก่อตั้งชุมชนนั้นก็มีบ้านเรือนไม่กี่หลังคาเรือน ต่อมาได้มีการทำเหมืองทองโต๊ะโม๊ะบ้านโต๊ะระแว้ง ก็เริ่มมีการเจริญรุ่งเรือง สืบเนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ได้กลายเป็นท่าเรือ (ซึ่งในอดีตการคมนาคมจะใช้ทางเป็นเรือเป็นหลัก) พ่อค้าแม่ค้าจากปัตตานี บางนรา ตากใบและรัฐกลันตัน มักจะขนส่งสินค้าต่าง ๆ โดยทางเรือผ่านเส้นทางบ้านโต๊ะระแว้ง เพื่อน าสินค้าเหล่านั ้นไปค้าขายที่บ้านโต๊ะโม๊ะ ซึ่งจะเดินทาง มาพักและขนถ่ายสินค้านั ้นที่ท่าเรือบ้านโต๊ะระแว้ง ทำให้ชาวบ้านหลายครอบครัวอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐาน ทำสวนและค้าขายที่บ้านโต๊ะแว้ง แต่ก็มีอีกหลาย ๆ ครอบครัวอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐานและจับจองพื้นที่ทำไร่ ทำนา ทำสวน สภาพจากชุมชนเล็ก ๆ ก็เปลี่ยนไปเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น คำเรียกชื่อชุมชนค่อย ๆ สั้นจากบ้าน “โต๊ะระแว้ง” กลายเป็ นบ้าน “โต๊ะแว้ง”และจากบ้านโต๊ะแว้งกลายเป็น “บ้านแว้ง” ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวมีความเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นชุมชนใหญ่ จึงมีการจัดตั้งเป็นตำบลขึ้นมา โดยมีชื่อตำบลว่า “ ตำบลแว้ง ” มาจนถึงปัจจุบัน
คำขวัญของอำเภอแว้ง “ไม้งาม น้ำตก นกเงือก”🐦
วิสัยทัศน์อำเภอแว้ง “แว้งเมืองคนดี มีป่าฮาลา – บาลา บูเก๊ะตาเมืองค้าชายแดนเกื้อกูล ศูนย์ส่งออกสินค้าเกษตรกรรม วัฒนธรรมกีฬาเป็นเลิศ”
สภาพทั่วไป ลักษณะที่ตั้ง อำเภอแว้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนราธิวาส เป็นระยะทาง ๘๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๓๔๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๑๗,๐๔๗ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๗.๗๖ ของพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา มีป่าเชิงเขา และลำห้วย หนอง บึงในบางพื้นที่ มีเทือกเขาสันกาลาคิรี และแม่น้ำสุไหงโก-ลก เป็นเขตแบ่งกั้นพรมแดนกับประเทศมาเลเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ ใช้ในการเกษตร จำนวน ๑๓๐,๖๙๓ ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอสุไหงปาดี และ อำเภอสุไหงโก-ลก ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอตะเนาะแมเราะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอปาเสมัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอสุคิริน
ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – เดือน เมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – เดือน มกราคม ด้านประชากร อำเภอแว้งมีประชากรทั้งสิ้น ๕๒,๒๔๕ คน แยกเป็น ชาย จำนวน ๒๕,๘๔๕ คน หญิง จำนวน ๒๖,๔๐๐ คน จำนวนบ้านเรือน ๑๑,๙๙๘ หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ มกราคม ๒๕๕๘) อ้างอิง : https://www.waengobt.go.th/files/history.pdf
เรื่องเล่า "บาเตาะ" คนกินเนื้อ
ภาพบาเตาะในจินตนาการ ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, กันยายน 2554) คําว่า “บาเตาะ” ในความหมายของคนในชุมชนหมายถึง คนเถื่อน คนใจดําอํามหิต ส่วนความหมายทั่วไป หมายถึงคนป่า คนพื้นถิ่น บาเตาะยังมีความหมายเช่นเดียวกับบาตัก (Batak) ซึ่งหมายถึงเผ่าพันธุ์หนึ่งบนคาบสมุทรมลายู รวมถึงอินโดนีเซีย ซึ่งออกสําเนียงเป็นภาษามลายูถิ่นว่า “บาเตาะ” บาตักจัดเป็นคนพื้นเมืองชาติพันธุ์หนึ่งบนคาบสมุทรมลายูชาติ นอกเหนือจากอัสลี (Asli) หรือซาไก พบมากบนเกาะสุมาตรา มีปรากฏเล็กน้อยในมาเลเซีย สิงคโปร์ แต่กลมกลืนกับคนสมัยใหม่แล้ว ที่ทะเลสาบโตบาของเกาะสุมาตรามีกลุ่มบาตักที่ยังคงรักษาวิถีดั้งเดิมไว้บ้าง โดยเฉพาะเกาะซาโมซีกลางทะสาบโตบา ที่มีตํานานเรื่องเล่าบาตัก คนกินเนื้อคน
เรื่องราวของบาเตาะ ที่กล่าวถึงว่าเป็นคนป่าที่ชอบ กินเนื้อคน ถูกฆ่าตายทั้งเผ่าอยู่ใต้ดิน อาจเป็นเพียงความทรงจํา ข้อสันนิษฐานหรือเรื่องเล่าที่คลุมเครือตลอดไป หากยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง ในลักษณะสหศาสตร์ ซึ่งบางครั้งจําเป็นต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์หรือโบราณคดี ชาวบ้านจึงคาดหวังว่าควรทําการศึกษาอย่างเร่งด่วน ณ สสานบาเตาะ ก่อนที่คนชราในชุมชนที่พออธิบายได้สิ้นใจตาย

เรื่องราวบาเตาะจะเป็นเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นหรือเรื่องเล่าที่เป็นจริง ถูกซ่อนเร้นมานานในป่าฮาลา บาลา และกําลังจะถูกเปิดเผย การระดมความรู้จากนักวิชาการต่างๆ เท่านั้นที่จะช่วยยืนยัน ในความคิดเห็นของผู้เขียนเชื่อว่า บาเตาะ คนกินเนื้อคนมีอยู่จริงในป่าฮาลา บาลา และมีความเป็นไปได้ที่จะมีเผ่าบาเตาะหรือบาตัก ที่ชอบกินเนื้อคนเผ่าหนึ่งอยู่ปลายด้ามขวานทองของประเทศไทย แบบเดียวกับที่เมดาน แถบทะเลสาบโดบา ในอินโดนีเซีย แต่ถูกฆ่าล้างเผ่าจนสูญพันธุ์
อ้างอิง : https://www.silpa-mag.com/
คําว่า “บาเตาะ” ในความหมายของคนในชุมชนหมายถึง คนเถื่อน คนใจดําอํามหิต ส่วนความหมายทั่วไป หมายถึงคนป่า คนพื้นถิ่น บาเตาะยังมีความหมายเช่นเดียวกับบาตัก (Batak) ซึ่งหมายถึงเผ่าพันธุ์หนึ่งบนคาบสมุทรมลายู รวมถึงอินโดนีเซีย ซึ่งออกสําเนียงเป็นภาษามลายูถิ่นว่า “บาเตาะ” บาตักจัดเป็นคนพื้นเมืองชาติพันธุ์หนึ่งบนคาบสมุทรมลายูชาติ นอกเหนือจากอัสลี (Asli) หรือซาไก พบมากบนเกาะสุมาตรา มีปรากฏเล็กน้อยในมาเลเซีย สิงคโปร์ แต่กลมกลืนกับคนสมัยใหม่แล้ว ที่ทะเลสาบโตบาของเกาะสุมาตรามีกลุ่มบาตักที่ยังคงรักษาวิถีดั้งเดิมไว้บ้าง โดยเฉพาะเกาะซาโมซีกลางทะสาบโตบา ที่มีตํานานเรื่องเล่าบาตัก คนกินเนื้อคน
เรื่องราวของบาเตาะ ที่กล่าวถึงว่าเป็นคนป่าที่ชอบ กินเนื้อคน ถูกฆ่าตายทั้งเผ่าอยู่ใต้ดิน อาจเป็นเพียงความทรงจํา ข้อสันนิษฐานหรือเรื่องเล่าที่คลุมเครือตลอดไป หากยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง ในลักษณะสหศาสตร์ ซึ่งบางครั้งจําเป็นต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์หรือโบราณคดี ชาวบ้านจึงคาดหวังว่าควรทําการศึกษาอย่างเร่งด่วน ณ สสานบาเตาะ ก่อนที่คนชราในชุมชนที่พออธิบายได้สิ้นใจตาย
เรื่องราวบาเตาะจะเป็นเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นหรือเรื่องเล่าที่เป็นจริง ถูกซ่อนเร้นมานานในป่าฮาลา บาลา และกําลังจะถูกเปิดเผย การระดมความรู้จากนักวิชาการต่างๆ เท่านั้นที่จะช่วยยืนยัน ในความคิดเห็นของผู้เขียนเชื่อว่า บาเตาะ คนกินเนื้อคนมีอยู่จริงในป่าฮาลา บาลา และมีความเป็นไปได้ที่จะมีเผ่าบาเตาะหรือบาตัก ที่ชอบกินเนื้อคนเผ่าหนึ่งอยู่ปลายด้ามขวานทองของประเทศไทย แบบเดียวกับที่เมดาน แถบทะเลสาบโดบา ในอินโดนีเซีย แต่ถูกฆ่าล้างเผ่าจนสูญพันธุ์
อ้างอิง : https://www.silpa-mag.com/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น